เลนส์ลดอาการตาล้า Hoyalux Sync III Pro
Hoya Sync III PRO
เพื่อความสบายตาในการมองหน้าจอดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
เมื่อดวงตาไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อมองหน้าจอโดยเฉพาะ ให้เลนส์ Sync III ช่วยดูแลดวงตาคุณเพื่อการใช้ชีวิตที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน เลนส์ Sync III ของโฮยา ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้งานอุปกรณ์ดิจิตอล
Hoya Sync III Proถูกแบ่งออกเป็น 3 รุ่น
-
Sync III-5 สำหรับผู้ที่ใช้งานหน้าจอหรือมองในระยะใกล้มากกว่า 2 ชม. มีอาการตาล้า ไม่สบายตาบ้างเล็กน้อย โดยเป็นบางครั้งบางคราว
-
Sync III-9 สำหรับผู้ที่ใช้งานหน้าจอหรือมองในระยะใกล้มากกว่า 2 ชม. มีอาการตาล้า ไม่สบายตาบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยมีอาการอยู่บ่อยครั้ง
-
Sync III-13 สำหรับผู้ที่ใช้งานหน้าจอหรือมองในระยะใกล้มากกว่า 2 ชม. มีอาการตาล้า ไม่สบายตามาก โดยมีอาการอยู่เป็นประจำ
เสริมศักยภาพและมุมมองของเลนส์ Sync III Pro ที่มากกว่า Standard ด้วยค่าพารามิเตอร์ของแว่นขณะสวมใส่จริง
คำนึงถึงพารามิเตอร์การสวมใส่ของแต่บุคคลเพื่อการแก้ไขที่แม่นยำยิ่งขึ้นโดยประกอบไปด้วย
-
ค่ามุมเทหน้าแว่น (Wearer's Pantoscopic Angle)
-
ระยะห่างจากกระจกตาจนถึงผิวเลนส์ด้านหลัง (Frame Corneal Distance)
-
ความโค้งหน้าแว่นตา (Frame Face Form Angle)
ช่วงค่าสายตาผลิตได้ในแต่ละวัสดุ
Index 1.50
รองรับค่าสายตาสั้นไม่เกิน -8.00 D /สายตายาวไม่เกิน +6.00 D /สายตาเอียงไม่เกิน -6.00 D
Index 1.60
รองรับค่าสายตาสั้นไม่เกิน -10.00 D /สายตายาวไม่เกิน +6.00 D /สายตาเอียงไม่เกิน -6.00 D
Index 1.67
รองรับค่าสายตาสั้นไม่เกิน -13.00 D /สายตายาวไม่เกิน +8.00 D /สายตาเอียงไม่เกิน -6.00 D
Index 1.74
รองรับค่าสายตาสั้นไม่เกิน -13.00 D /สายตายาวไม่เกิน +9.00 D /สายตาเอียงไม่เกิน -6.00 D
1.50 1.60 1.67 1.74 …ตัวเลขกำกับเหล่านี้ที่เราเห็นกันในขณะเลือกชมสินค้าประเภทเลนส์แว่นตา เราเรียกว่า Refractive Index ของเลนส์ หรือถ้าให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ก็เปรียบเสมือนกับ “วัสดุ” ที่นำมาใช้ในการผลิตเลนส์
แรกเริ่มเดิมที วัสดุหรือน้ำยาสารตั้งต้น เหล่านี้เป็นของเหลว ก่อนที่จะถูกหลอมขึ้นเป็นชิ้นเลนส์ แต่ก็มีวัสดุบางชนิดที่สารตั้งต้นเป็นของแข็ง เช่น Polycarbonate ซึ่งเป็นวัสดุสำหรับทำเลนส์นิรภัยน้ำยาหรือวัสดุที่นำมาใช้ก่อนหลอมเป็นเลนส์มีด้วยกันอยู่หลายชนิดได้แก่
CR39 , MR8 , MR7 , MR174 หรืออาจจะมีชื่ออื่นๆแล้วแต่บริษัทที่คิดค้นน้ำยาขึ้น
แต่ละวัสดุเมื่อถูกหล่อขึ้นมาเป็นเลนส์จะมีคุณสมบัติของเลนส์ที่ต่างกันในแง่กำลังการหักเหแสง และความหนาบางของเลนส์ที่ได้
วัสดุ CR39 เมื่อถูกหล่อขึ้นมาเป็นชิ้นเลนส์จะมีค่ากำลังการหักเหแสงที่ 1.5 หรือเป็นค่ามาตรฐาน
ในขณะที่ วัสดุ MR174 เมื่อถูกหล่อขึ้นเป็นชิ้นเลนส์จะทำให้เลนส์ชิ้นนั้นมีค่ากำลังการหักเหแสงที่ 1.74 ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่า
Credit Picture https://www.optometrists.org/general-practice-optometry/optical/guide-to-optical-lenses/guide-to-high-index-lenses/
เลนส์ที่มีกำลังการหักเหแสงที่มากกว่าจะทำให้เลนส์ชิ้นนั้นมีความหนาเลนส์ที่น้อยกว่าหรือบางมากขึ้น
- วัสดุ CR39 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.50 ความหนาของเลนส์อยู่ในระดับมาตรฐาน
- วัสดุ MR8 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.60 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 20% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
- วัสดุ MR7 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.67 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
- วัสดุ MR174 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.74 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 40% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
สรุปและทำความเข้าใจง่ายๆได้ว่ายิ่ง ดัชนีหักเหแสงยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เลนส์ที่ได้จะมีความบางและเบามากขึ้น
Tips
- เลนส์ที่มีค่า Index 1.50 เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาไม่มาก รวมถึงผู้ที่เลือกใช้กรอบประเภทกรอบเต็ม
- เรามักเรียกเลนส์ที่มีค่า Refractive index สูงว่า เลนส์ย่อบาง เลนส์ย่อบางเหมาะสำหรับคนที่มีค่าสายตามากๆ เพื่อให้เวลาที่นำเลนส์เข้ากรอบแล้วตัวเลนส์ไม่ล้นออกนอกกรอบแว่นตา และช่วยทำให้ตัวแว่นนั้นมีน้ำหนักไม่หนักจนเกินไป
- การเลือกกรอบแว่นตาก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือก Index ของเลนส์เช่นกันโดยเฉพาะผู้ที่ใช้กรอบแว่นตาชนิดไร้กรอบ หรือ กรอบเซาะร่อง อาจจะต้องพิจารณาใช้วัสดุเลนส์ Index 1.60 ขึ้นไปเนื่องจากตัวเลนส์จะมีความแข็งแกร่งที่มากกว่าวัสดุเลนส์ Index 1.50 การเลือกวัสดุเลนส์ Index 1.60 ขึ้นไปจะลดความเสี่ยงในการเกิดการกระเทาะแตกของเลนส์ได้