เลนส์ชั้นเดียว Essilor Crizal Sapphire HR Transitions Signature (stock)
เลนส์เปลี่ยนสีอัตโนมัติ Essilor Transitions Signature Crizal Sapphire HR
👓Transitions Signature GEN 8 :
ปัจจุบัน Essilor ผลิตตัวเลนส์ที่มีสมบัติให้เลนส์เมื่อสัมผัสกับรังสียูวีจะสามารถเปลี่ยนสีอัตโนมัติเป็นเสมือนเลนส์กันแดดได้ เพื่อการปกป้องดวงตาในการใช้ชีวิตประจำวัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเลนส์ที่ใสและไวต่อการเปลี่ยนสีที่สุด โดยมีสีของเลนส์เปลี่ยนสีมีให้เลือกทั้งหมดด้วยกัน 7 สีด้วยกัน
(สำหรับเลนส์ในกลุ่ม Stock จะมีเพียงสีเทาดำเพียงสีเดียว)
ข้อดีของ Transition Signature GEN 8 คือ
-
ตัวเลนส์เคลียร์ ใส ขณะที่อยู่ในร่ม (indoor)
-
กลับมาเป็นสีใสได้เร็วกว่าที่เคย
-
สีเข้มขึ้นเมื่อออกมาข้างนอกในไม่กี่วินาที
-
ป้องกันรังสี UVA และ UVB ได้ 100%
-
กรองแสงสีน้ำเงินชนิดอันตรายทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง
โดยทางบริษัทได้มีการจัดสำรวจเทคโนโลยีเบื้องหลังการกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานเลนส์ Trasition Signature พบว่า 89% ของผู้สวมใส่ยินดีจะเพิ่มคุณสมบัติของทรานซิชั่นส์ ซิกเนเจอร์ เจน 8 เข้าไปในเลนส์ใสเกรดพรีเมี่ยม และ 77% ของผู้สวมใส่รู้สึกรำคาญตาจากแสงจัดๆ น้อยลงหลังจากลองใช้ทรานซิชั่นส์ ซิกเนเจอร์ เจน 8
มาพร้อมกับเทคโนโลยีการเคลือบผิวเลนส์ Crizal Sapphire HR โค้ทติ้งระดับสูงสุดของ Essilor
- ช่วยลดแสงสะท้อนที่ผิวเลนส์โดยรอบทิศทาง 360 องศา ให้ความเคลียร์ใสของเลนส์สูงสุด
- ปกป้องรังสียูวีที่มาจากด้านหน้าและด้านหลังของเลนส์
- ผิวเลนส์ง่ายต่อการทำความสะอาด ลดการเกิดคราบ
- ลดการเกิดรอยขีดข่วน
การออกแบบโครงสร้างของเลนส์เป็นแบบ Aspheric (AS) ที่มีส่วนช่วยให้ลดภาพบิดเบือนด้านข้าง เนื่องจากมีการขัดลดความโค้งของผิวเลนส์ลง จึงทำให้เลนส์มีน้ำหนักเบาบางลงไปด้วย
1.50 1.60 1.67 1.74 …ตัวเลขกำกับเหล่านี้ที่เราเห็นกันในขณะเลือกชมสินค้าประเภทเลนส์แว่นตา เราเรียกว่า Refractive Index ของเลนส์ หรือถ้าให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ก็เปรียบเสมือนกับ “วัสดุ” ที่นำมาใช้ในการผลิตเลนส์
แรกเริ่มเดิมที วัสดุหรือน้ำยาสารตั้งต้น เหล่านี้เป็นของเหลว ก่อนที่จะถูกหลอมขึ้นเป็นชิ้นเลนส์ แต่ก็มีวัสดุบางชนิดที่สารตั้งต้นเป็นของแข็ง เช่น Polycarbonate ซึ่งเป็นวัสดุสำหรับทำเลนส์นิรภัยน้ำยาหรือวัสดุที่นำมาใช้ก่อนหลอมเป็นเลนส์มีด้วยกันอยู่หลายชนิดได้แก่
CR39 , MR8 , MR7 , MR174 หรืออาจจะมีชื่ออื่นๆแล้วแต่บริษัทที่คิดค้นน้ำยาขึ้น
แต่ละวัสดุเมื่อถูกหล่อขึ้นมาเป็นเลนส์จะมีคุณสมบัติของเลนส์ที่ต่างกันในแง่กำลังการหักเหแสง และความหนาบางของเลนส์ที่ได้
วัสดุ CR39 เมื่อถูกหล่อขึ้นมาเป็นชิ้นเลนส์จะมีค่ากำลังการหักเหแสงที่ 1.5 หรือเป็นค่ามาตรฐาน
ในขณะที่ วัสดุ MR174 เมื่อถูกหล่อขึ้นเป็นชิ้นเลนส์จะทำให้เลนส์ชิ้นนั้นมีค่ากำลังการหักเหแสงที่ 1.74 ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่า
Credit Picture https://www.optometrists.org/general-practice-optometry/optical/guide-to-optical-lenses/guide-to-high-index-lenses/
เลนส์ที่มีกำลังการหักเหแสงที่มากกว่าจะทำให้เลนส์ชิ้นนั้นมีความหนาเลนส์ที่น้อยกว่าหรือบางมากขึ้น
- วัสดุ CR39 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.50 ความหนาของเลนส์อยู่ในระดับมาตรฐาน
- วัสดุ MR8 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.60 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 20% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
- วัสดุ MR7 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.67 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
- วัสดุ MR174 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.74 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 40% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
สรุปและทำความเข้าใจง่ายๆได้ว่ายิ่ง ดัชนีหักเหแสงยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เลนส์ที่ได้จะมีความบางและเบามากขึ้น
Tips
- เลนส์ที่มีค่า Index 1.50 เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาไม่มาก รวมถึงผู้ที่เลือกใช้กรอบประเภทกรอบเต็ม
- เรามักเรียกเลนส์ที่มีค่า Refractive index สูงว่า เลนส์ย่อบาง เลนส์ย่อบางเหมาะสำหรับคนที่มีค่าสายตามากๆ เพื่อให้เวลาที่นำเลนส์เข้ากรอบแล้วตัวเลนส์ไม่ล้นออกนอกกรอบแว่นตา และช่วยทำให้ตัวแว่นนั้นมีน้ำหนักไม่หนักจนเกินไป
- การเลือกกรอบแว่นตาก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือก Index ของเลนส์เช่นกันโดยเฉพาะผู้ที่ใช้กรอบแว่นตาชนิดไร้กรอบ หรือ กรอบเซาะร่อง อาจจะต้องพิจารณาใช้วัสดุเลนส์ Index 1.60 ขึ้นไปเนื่องจากตัวเลนส์จะมีความแข็งแกร่งที่มากกว่าวัสดุเลนส์ Index 1.50 การเลือกวัสดุเลนส์ Index 1.60 ขึ้นไปจะลดความเสี่ยงในการเกิดการกระเทาะแตกของเลนส์ได้